Flaxseed Oil (น้ำมันเมล็ดแฟลกซ์)
หรือ Linseed Oil (น้ำมันเมล็ดลินิน)
คือน้ำมันที่สกัดได้จากเมล็ดของต้นลินิน หรือต้นปอป่าน
ในปัจจุบันมีการเพาะปลูกกันมากในประเทศแถบยุโรปและอเมริกา ซึ่งเป็นแหล่งของกรดไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็น กลุ่มโอเมก้า
3, 6, 9 ดังนี้
6 กรดแอลฟ่า-ไลโนเลนิก (Alpha-Linolenic
Acid หรือ ALA) จัดอยู่ในกลุ่มกรดไขมันโอเมก้า
3 ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็น ที่มีปริมาณมากกว่าในน้ำมันปลาถึง 60% มีประโยชน์อย่างมากต่อระบบการไหลเวียนของเลือด
6 กรดไลโนเลอิก (Linoleic Acid หรือ LA) เป็นกรดไขมันจำเป็นในกลุ่มโอเมก้า 6 ซึ่งมีสรรพคุณช่วยให้ผิวหนังชุ่มชื้นและลดอาการอักเสบของผิวหนัง
6 กรดโอเลอิก (Oleic Acid) ซึ่งเป็นกรดไขมันในกลุ่มโอเมก้า 9
มีการออกฤทธิ์คล้ายโอเมก้า 3 และ 6
ทำหน้าที่ช่วยเสริมการทำงานของสารทั้งสองตัวให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ยังมีสารพฤกษเคมีอีกหนึ่งชนิด
ที่ส่งผลดีต่อสุขภาพ คือ “ ลิกแนน
(Lignans) ” ซึ่งเป็นไฟโตเอสโตรเจน (phytoestrogens)
ซึ่งมีมากกว่าพืชชนิดอื่นถึง 75 เท่า
มีการออกฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจนและเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
ประโยชน์ของน้ำมันเมล็ดแฟลกซ์ (Flaxseed
Oil)
ในปัจจุบัน พบว่า อาหารที่รับประทานส่วนใหญ่จะประกอบด้วยกรดไขมันกลุ่มโอเมก้า
6 แต่มีกรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 3 น้อยมาก ทำให้ร่างกายเสียสมดุลของกรดไขมันในร่างกาย
อันเป็นสาเหตุของโรคเรื้อรังหลายชนิด
1. ลดคลอเลสเตอรอล ควบคุมความดันโลหิต
และป้องกันโรคหลอดเลือดและหัวใจ
กรดแอลฟ่า-ไลโนเลนิก
ที่พบในน้ำมันเมล็ดแฟลกซ์
ทำหน้าที่ยับยั้งการแข็งตัวของเลือด, ช่วยขยายหลอดเลือด,
ลดระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ จึงทำให้ลดความดันโลหิต
และลดความเสี่ยงจากการเสียชีวิตด้วยโรคทางระบบหลอดเลือดและหัวใจ
มีผลวิจัยทางการแพทย์ พบว่า กลุ่มผู้ป่วยโรคหัวใจที่รับประทานน้ำมันเมล็ดแฟลกซ์
3,000 มก./วัน ร่วมกับวิตามินอีธรรมชาติ 200-400 หน่วยสากล สามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากหัวใจล้มเหลวได้ถึง 15% และจากการศึกษาใน Boston’s Simmons College ระยะเวลา
5 ปี พบว่า
น้ำมันเมล็ดแฟลกซ์มีประโยชน์ในการป้องกันโรคหัวใจวาย และป้องกันความดันโลหิตสูงได้
2. ลดอาการปวดอักเสบของโรคข้อต่างๆ เช่น ข้อเสื่อม
และรูมาตอยด์
กรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 3 ในน้ำมันเมล็ดแฟลกซ์
สามารถลดการอักเสบของโรคข้อต่างๆได้ เช่น โรคข้อเสื่อม, โรครูมาตอยด์
และโรคเกาท์ ซึ่งจากการศึกษากับผู้ป่วยไขข้ออักเสบ (Rheumatoid Arthritis) พบว่า มีผลต่อการสร้างสารที่ลดการอักเสบในร่างกายหลายชนิด เช่น Interleukin-1,
Tumor necrosis factor และLeukotriene B4
จึงช่วยบรรเทาอาการข้อบวม, ปวดข้อลงได้ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น
3. ลดการอักเสบของผิว บำรุงสุขภาพเส้นผมและเล็บ
กรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 6
ที่พบในน้ำมันเมล็ดแฟลกซ์ จัดเป็นกรดไขมันจำเป็น (Essential Fatty Acid หรือ EFAs) ซึ่งร่างกายจะนำไปใช้ในการสร้าง Prostaglandin
PGE1 ซึ่งช่วยลดอาการอักเสบต่างๆของผิวหนัง เช่น การแพ้, ผื่นคัน, สิว และกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่มีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ในน้ำมันเมล็ดแฟลกซ์ ช่วยให้ผิวชุ่มชื้น
รวมถึงช่วยให้เส้นผมมีสุขภาพดี, เงางาม, ไม่แห้งแตกปลาย และต่อต้านการอักเสบที่หนังศีรษะ รวมถึงผู้ทีปัญหาหนังศีรษะแห้ง
นอกจากนี้ยังช่วยให้เล็บแข็งแรงไม่เปราะหักง่าย
4. ลดความผิดปกติของสตรีวัยหมดประจำเดือน
และต่อต้านความชรา
สารลิกแนน ในน้ำมันเมล็ดแฟลกซ์ ซึ่งมีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน (Phytoestrogen)
และช่วยปรับความสมดุลของฮอร์โมน ดังนั้นจึงช่วยบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนได้
เช่น อาการร้อนวูบวาบ, เหงื่อออกในเวลากลางคืน, หลับไม่สนิท, ผิวพรรณและช่องคลอดแห้ง เป็นต้น
ประกอบกับสารลิกแนน ยังช่วยป้องกันผลจากความชราภาพในหลายๆด้าน
นอกจากนี้กรดไขมันจำเป็นในน้ำมันเมล็ดแฟลกซ์ ยังช่วยอาการผิดปกติของการมีประจำเดือนได้อีกด้วย
เช่น อาการคัดหน้าอก, ปวดเมื่อย, ปวดท้อง
เป็นต้น
5. ลดอาการตาแห้ง
การรับประทานน้ำมันเมล็ดแฟลกซ์สามารถลดอาการตาแห้ง
โดยการเพิ่มทั้งคุณภาพและปริมาณของชั้นน้ำตาส่วนไขมัน และช่วยหล่อลื่นดวงตา
ซึ่งจากการศึกษา พบว่า การรับประทานน้ำมันเมล็ดแฟลกซ์3,000
มก./วัน ก่อนทำเลสิค 1 สัปดาห์ และหลังทำเลสิค 1 สัปดาห์ สามารถลดอาการตาแห้งที่มักเกิดขึ้นหลังจากการทำเลสิคลงได้
สารลิกแนน ในน้ำมันเมล็ดแฟลกซ์ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
อันเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคมะเร็ง ซึ่งในปัจจุบันพบว่าผู้หญิง 1 ใน 9 คน เป็นมะเร็งเต้านม
เนื่องจากการมีระดับของฮอร์โมนที่ไม่สมดุล จากการศึกษา พบว่า
การบริโภคน้ำมันเมล็ดแฟลกซ์ ช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านมได้ถึง 40% เพราะช่วยขับเอสโตรเจนส่วนเกินออกจากร่างกาย และช่วยลดการแบ่งตัวของเซลล์ที่ทรวงอกอย่างรวดเร็วเกินไป
ทำให้ลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมได้ รวมทั้งชะลอการเติบโตของเนื้องอก
ทำให้น้ำมันเมล็ดแฟลกซ์ มีบทบาทในการนำมาใช้เพื่อป้องกันโรคมะเร็งเต้านม, มดลูก, ลำไส้ใหญ่, ต่อมลูกหมาก
รวมถึงมะเร็งผิวหนัง ถึงแม้ว่าจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม
แต่จากการศึกษาโดย University of Toronto บ่งชี้ว่า
ผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านม (ไม่คำนึงถึงระดับความรุนแรงของโรคมะเร็ง)
จะได้รับประโยชน์ด้านการรักษาที่เพิ่มขึ้นเมื่อมีการรับประทานน้ำมันเมล็ดแฟลกซ์
ขนาดรับประทาน
เทียบขนาดรับประทานจาก
น้ำมันเมล็ดแฟลกซ์ที่ได้รับมาตรฐานสากลจากประเทศสหรัฐอเมริกา
- รับประทานครั้งละ 1 แคปซูล (1,000 มก.) วันละ 1 ครั้ง หลังอาหาร
- ประกอบด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวถึง 3 ชนิด ได้แก่ โอเมก้า 3, 6 และ 9
- เป็นกรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 3 ที่สกัดจากพืช จึงเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่รับประทานมังสวิรัติ
และผู้ที่แพ้อาหารทะเล (น้ำมันปลา) ที่ต้องการโอเมก้า 3
เอกสารอ้างอิง
1. Cunnane, Stephen C., et al. "High α-linolenic acid flaxseed
(Linum usitatissimum): some nutritional properties in humans." British
Journal of Nutrition 69.02 (1993): 443-453.
2. Chen, Jianmin, P. Mark Stavro, and Lilian U. Thompson.
"Dietary flaxseed inhibits human breast cancer growth and metastasis and
downregulates expression of insulin-like growth factor and epidermal growth
factor receptor." Nutrition and cancer 43.2 (2002): 187-192.
3. Prasad, Kailash. "Dietary flax seed in prevention of
hypercholesterolemic atherosclerosis." Atherosclerosis 132.1 (1997): 69-76.
4. Thompson, Lilian U., et al. "Mammalian lignan production
from various foods." (1991): 43-52.
5. Kitts, D. D., et al. "Antioxidant activity of the
flaxseed lignan secoisolariciresinol diglycoside and its mammalian lignan
metabolites enterodiol and enterolactone." Molecular and cellular
biochemistry 202.1-2 (1999): 91-100.
6. Wojtowicz, Jadwiga Cristina, et al. "Pilot, prospective,
randomized, double-masked, placebo-controlled clinical trial of an omega-3
supplement for dry eye." Cornea 30.3 (2011): 308-314.
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น